สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21 มีนาคม 2564

 

ข้าว
 
1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์และอุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 28.786 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว
2.1) การวางแผนการผลิตข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการวางแผนการผลิตข้าว ปี 2563/64
รวม 69.409 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 30.865 ล้านตันข้าวเปลือก จำแนกเป็น รอบที่ 1 พื้นที่ 59.884 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 24.738 ล้านตันข้าวเปลือก และรอบที่ 2 พื้นที่ 9.525 ล้านไร่ คาดการณ์ผลผลิต 6.127 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถปรับสมดุลการผลิตได้ในการวางแผนรอบที่ 2 หากราคามีความอ่อนไหว ความต้องการใช้ข้าวลดลง และสถานการณ์น้ำน้อย รวมทั้งการปรับลดพื้นที่การปลูกข้าวไปปลูกพืชอื่น โดยจะมีการทบทวนโครงการ
ลดรอบการปลูกข้าวก่อนฤดูกาลเพาะปลูกข้าวรอบที่ 2
2.2) การจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการจัดทำพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 จำนวน 59.884 ล้านไร่ แยกเป็น 1) ข้าวหอมมะลิ 27.500 ล้านไร่ ผลผลิต 9.161 ล้านตันข้าวเปลือก 2) ข้าวหอมไทย 2.084 ล้านไร่ ผลผลิต 1.396 ล้านตันข้าวเปลือก 3) ข้าวเจ้า 13.488 ล้านไร่ ผลผลิต 8.192 ล้านตันข้าวเปลือก 4) ข้าวเหนียว 16.253 ล้านไร่ ผลผลิต 5.770 ล้านตันข้าวเปลือก และ 5) ข้าวตลาดเฉพาะ 0.559 ล้านไร่ ผลผลิต 0.219 ล้านตันข้าวเปลือก
2.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
2.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่โครงการส่งเสริมระบบนาแบบแปลงใหญ่โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวกข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม (กข79) และโครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าว
2.5) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย
2.6) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการชาวนาปราดเปรื่อง
2.7) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ โครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวคุณภาพดีเพื่อการแข่งขัน และโครงการปรับปรุงและการรับรองพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มพันธุ์ใหม่
2.8) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศ
4.1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
4.2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกและโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศ
5.1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ การเจรจาขยายตลาดข้าวและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าในต่างประเทศ โครงการกระชับความสัมพันธ์ และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
5.2) ส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าวและนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและขยายตลาดข้าวไทยเชิงรุก โครงการผลักดันข้าวหอมมะลิไทยคุณภาพดีจากแหล่งผลิตสู่ตลาดโลก โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ โครงการจัดประชุม Thailand Rice Convention 2021 และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
5.3) ส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐาน และปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย
5.4) ประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยในตลาดข้าวต่างประเทศ
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 และงบประมาณ ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ประกอบด้วย
3 มาตรการ ได้แก่
(1)โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2563/64 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร จำนวน 1.82 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวตันละ 8,600 บาทรวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่
เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกรปีการผลิต 2563/64โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2563/64 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน)นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
3)โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร  เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ (ครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท) ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ขอดำเนินการจ่ายเงินเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
ปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ในอัตราไร่ละ 500 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท ก่อนในเบื้องต้น
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,854 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,778 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,239 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,216 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,550 บาท ราคาลดลงจากตันละ 27,350 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.58
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,790 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,630 บาท ในสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 1.09
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 843 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,724 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 861 ดอลลาร์สหรัฐฯ (26,210 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.09 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 486 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,051 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,012 บาท/ตัน) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,051 บาท/ตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,012 บาท/ตัน) แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 39 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.5147 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

ไทย: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ในปี 2564 การส่งออกข้าวของไทยอาจยังประคองตัวได้ในกรอบจำกัด
อยู่ที่ประมาณ 5.8-6.0 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3-4.8 จากปี 2563 ที่มีปริมาณ 5.7 ล้านตัน ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่ภาครัฐตั้งไว้ที่ 7.5 ล้านตัน และยังเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในรอบ 20 ปี โดยไทยหล่นมาเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 ของโลก
รองจากอินเดีย และเวียดนาม ตามลำดับ

แม้การส่งออกข้าวไทยจะได้รับแรงหนุนจากปัจจัยบวก คือ ปริมาณน้ำฝนที่มากขึ้นจากการเข้าสู่วงรอบของลานีญา ทำให้มีปริมาณผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น ผนวกกับเกษตรกรมีแรงจูงใจในการปลูกข้าวต่อไปจากมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ แต่คงต้องยอมรับว่า การส่งออกข้าวไทยจะยังคงต้องเผชิญปัจจัยลบที่ยังมีอยู่ต่อเนื่องจากปีก่อน แม้ปัจจัยลบดังกล่าวจะให้ภาพที่ดีขึ้นบ้างแล้วก็ตาม ทั้งในเรื่องของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ให้ภาพคลี่คลายขึ้น รวมถึงปัญหาเรื่องการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่น่าจะได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นกว่าปีก่อน
นอกจากนี้ เงินบาทที่แข็งค่า จะยังเป็นปัจจัยกดดันต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคา สุดท้ายจะทำให้ภาพรวมการส่งออกข้าวของไทยในปีนี้น่าจะสามารถประคองการเติบโตได้ แต่คงอยู่ในกรอบที่จำกัดซึ่งจะทำให้ไทยสามารถรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออกข้าวในโลกไว้ได้ใกล้เคียงกับปีก่อนที่ประมาณร้อยละ 12.8
พร้อมมองว่า จากนี้ไปไทยน่าจะไม่สามารถกลับไปเป็นแชมป์การส่งออกข้าวโลกได้อีกแล้วดังเช่นในอดีต และ
ที่ไทยเคยส่งออกข้าวเฉลี่ยได้สูงถึงราว 9 ล้านตันต่อปี เนื่องจากการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงขึ้น รวมถึงราคาข้าวไทยที่ยังสูงกว่าคู่แข่งโดยเปรียบเทียบ ดังนั้น ไทยควรมุ่งไปที่การผลิตข้าวที่เน้นการแข่งขันในเชิงมูลค่ามากกว่าเชิงปริมาณ (ที่เน้นไปแค่เพียงการจัดอันดับของผู้ส่งออกข้าวในโลกเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงด้านคุณภาพข้าว)
จากการวิเคราะห์ ระบุว่า “ความหวังของการส่งออกข้าวไทยในระยะข้างหน้า อยู่ที่การให้ความสำคัญกับตัวชูโรงอย่างข้าวหอมมะลิ ที่ควรเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อส่งออกและบริโภคในประเทศ ขณะที่ในด้านราคาก็อยู่ในเกณฑ์ดีกว่า
ข้าวประเภทอื่น จึงนับว่าข้าวหอมมะลิน่าจะมีโอกาสและศักยภาพมากที่สุดในพันธุ์ข้าวที่ไทยมี ณ ขณะนี้”
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ข้าวหอมมะลิน่าจะเป็นตัวชูโรงของการส่งออกข้าวไทยในปีนี้ให้ประคองตัวต่อไปได้ รวมถึงในระยะข้างหน้า (เมื่อเทียบกับข้าวขาวและข้าวนึ่งที่มีการแข่งขันด้านราคาที่รุนแรงกว่า และเป็นตลาด MASS) เพราะมีเอกลักษณ์คุณภาพด้านความหอม เหนียว นุ่ม และยังตอบโจทย์รสนิยมของผู้บริโภคโดยเฉพาะในตลาดส่งออกที่แข็งแกร่งของข้าวหอมมะลิไทยอย่างสหรัฐอเมริกาที่น่าจะยังสามารถเติบโตได้ดี
โดยคาดว่าในปี 2564 ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิของไทยไปสหรัฐอเมริกา อาจอยู่ที่ 0.54-0.56 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7-14.8 (YoY) จนช่วยหนุนให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิทั้งหมดของไทยอยู่ที่ประมาณ 1.3-1.35 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3-13.5 (YoY) เนื่องจากสหรัฐอเมริกามีประชากรจำนวนมากกว่า 330 ล้านคน และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวที่อยู่ในระดับสูงประมาณ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี จึงยังเป็นประเทศเป้าหมายของ
ข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นข้าวเกรดพรีเมียมของไทย
ประกอบกับคาดว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะกลับมาฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยจะเติบโตที่ร้อยละ 3.1-5.1
อีกทั้งภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังไม่สิ้นสุด จะทำให้คนส่วนใหญ่ยังคงพักอาศัยอยู่ในบ้านเป็นหลัก จึงมี
ความต้องการข้าวเพื่อนำไปประกอบอาหาร รวมถึงการกักตุนอาหารที่มากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ หากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง ก็จะเป็นปัจจัยให้ร้านอาหารไทยที่มีอยู่มากมาย
ในสหรัฐอเมริกาสามารถทยอยกลับมาให้บริการได้ ซึ่งข้าวหอมมะลิได้รับความนิยมสูงจากผู้บริโภค ทั้งในกลุ่มชาวเอเชียในสหรัฐอเมริกาที่บริโภคข้าวเป็นหลัก รวมถึงชาวอเมริกันที่บริโภคข้าวควบคู่ไปกับอาหารหลัก
นอกจากนี้ ยังสามารถใช้โอกาสในด้านคุณภาพข้าวไทยเจาะตลาดเพิ่มเติมในกลุ่ม Millenials ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่น่าจะมีศักยภาพ โดยเฉพาะในสินค้าที่ตอบโจทย์การดูแลสุขภาพมากขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิออร์แกนิค เนื่องจากคนกลุ่มนี้เป็นวัยทำงานที่มีกำลังซื้อเช่นกัน รวมถึงผลิตภัณฑ์จากข้าว เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว อาหารเช้า ขนมขบเคี้ยว แป้งทำขนม น้ำมันรำข้าว และเครื่องดื่มนมจากข้าว เป็นต้น ก็ยังเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการทำตลาดข้าวหอมมะลิในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มเติมด้วย
ขณะที่ราคาส่งออกเมื่อเทียบกับคู่แข่ง จะเห็นว่าแม้ราคาข้าวหอมมะลิของไทยจะสูงกว่าคู่แข่ง แต่ด้วยคุณภาพข้าวที่ดี ถูกปากผู้บริโภค ทำให้ข้าวหอมมะลิเป็นตลาดข้าวที่ไม่ได้แข่งขันด้านราคาเป็นหลัก (เน้นคุณภาพ) อย่างไรก็ดี พบว่า ราคาข้าวหอมมะลิไทยมีทิศทางที่ปรับตัวลดลง และทำให้มีช่วงห่างของราคาเทียบกับคู่แข่งอย่างเวียดนาม
ที่แคบลง ทำให้ไทยน่าจะมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น
ขณะที่คู่แข่งสำคัญอย่างอินเดีย ก็มีคุณภาพข้าวที่ยังเทียบชั้นกับไทยไม่ได้ และแม้ว่าคู่แข่งอย่างเวียดนาม
จะมีราคาข้าวถูกกว่าไทย แต่ด้วยปริมาณการส่งออกของเวียดนามไปสหรัฐอเมริกาที่ยังอยู่ในสัดส่วนน้อย และคุณภาพ
ที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับมากนัก จึงคาดว่าไทยจะยังไม่ต้องกังวลเรื่องคู่แข่งมากนัก และน่าจะยังสามารถครองตลาด
ข้าวหอมมะลิในสหรัฐอเมริกาได้อย่างแข็งแกร่งต่อไปในปีนี้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า จากศักยภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่ยังคงแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ตอบโจทย์ตลาดข้าวพื้นนุ่มที่เน้นการแข่งขันด้านคุณภาพมากกว่าราคา ดังนั้น ไทยควรจะมุ่งเน้นไปที่การผลิตข้าวหอมมะลิให้มากขึ้น ด้วยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ (Yield) เพราะการเพิ่มพื้นที่ปลูกข้าวของไทยคงทำได้ยาก โดยเฉพาะแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีพื้นที่ปลูกราวร้อยละ 97.2 ของพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิในพื้นที่ทั้งประเทศ และยังเป็นโอกาสที่ดีในภาวะที่ไทยเข้าสู่วงรอบของปรากฏการณ์ลานีญา อันจะช่วยให้พื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวที่อยู่นอกเขตชลประทานกว่าร้อยละ 75 ให้สามารถ
มีปริมาณน้ำที่เพียงพอในการปลูกข้าวหอมมะลิได้ดีขึ้น ส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวให้สูงขึ้นด้วย อันจะเป็นการลด
ความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นของผลผลิตข้าวหอมมะลิ เพื่อตอบรับความต้องการของตลาดได้อย่างสม่ำเสมอ
ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกข้าวไทยเองก็ยังต้องรักษามาตรฐานด้านความปลอดภัยด้านอาหารที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาอย่างเคร่งครัด ทั้งการปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis Critical Control Point) รวมไปถึงการควบคุมปริมาณสารตกค้าง/สารปนเปื้อนต่างๆ ไม่ให้เกินปริมาณที่กำหนดไว้ อีกทั้งการยกระดับคุณภาพข้าวหอมมะลิไทย เช่น การควบคุมการผลิตและการติดฉลากสินค้าอินทรีย์ จะเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยให้มีความพรีเมียมมากยิ่งขึ้นไปอีก
นอกจากนี้ ในระยะข้างหน้า หากภาครัฐยังมีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอย่างต่อเนื่อง ก็จะยิ่งเป็นแรงจูงใจในการทำให้เกษตรกรหันมาดูแลใส่ใจในการบำรุงและหันมาปลูกข้าวหอมมะลิมากขึ้น รวมถึงภาคอื่นของไทยที่มีการปลูกข้าวก็สามารถหันมาปลูกข้าวหอมมะลิได้ในบางพื้นที่ เพื่อทดแทนการปลูกข้าวขาวที่เป็นพันธุ์
ที่ให้ราคาต่ำและเป็นสินค้า MASS ที่มีการแข่งขันสูง อันจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับข้าวไทย
อีกทั้งในอนาคต ไทยจะต้องเตรียมความพร้อมด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้มีศักยภาพอยู่เสมอเพื่อรองรับในกรณีที่หากหมดวงรอบของลานีญาแล้ว อันจะเป็นการผลิตข้าวที่มีความสม่ำเสมอได้ด้วยการตัดปัจจัยเสี่ยงด้านความผันผวนของสภาพภูมิอากาศออกไป รวมไปถึงการเร่งพัฒนาและค้นคว้าวิจัยพันธุ์ข้าวไทยให้มี
ความหลากหลาย ก็นับเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่จะทำให้ไทยสามารถมีข้าวหลากหลายสายพันธุ์เพื่อตอบโจทย์
ความต้องการของตลาดได้มากขึ้น ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนการผลิต ท่ามกลางภาวะที่มีการแข่งขันในตลาดโลก
ที่รุนแรง ท้ายที่สุดจะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวของไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์
 
อิหร่าน: อิหร่านยกเลิกประกาศการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าวในปีงบประมาณ 2564
ความเดิม ในปีงบประมาณ 2561 รัฐบาลอิหร่านได้ออกประกาศห้ามปลูกข้าวทั่วประเทศ ยกเว้นในพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำอุดมสมบูรณ์ ใน 2 จังหวัดทางภาคเหนือของประเทศ คือ จังหวัดมาซันดารานและจังหวัดกีลานที่ตั้งอยู่ในแถบชายฝั่งตอนใต้ของทะเลสาปแคสเปี้ยน และบางพื้นที่ของจังหวัดคูซิสตานที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอิหร่านเท่านั้น เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ ต่อมาในปี 2563 รัฐบาลได้มีการแก้ไขคำสั่งดังกล่าว
พร้อมขยายพื้นที่ปลูกข้าวเป็นการชั่วคราวในจังหวัดที่พบว่ามีน้ำอุดมสมบูรณ์อันเนื่องมาจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ อิหร่านประสบปัญหาเรื่องน้ำและภาวะภัยแล้งมาเป็นเวลากว่า 50 ปี โดยข้อมูลจากหน่วยงานทรัพยากร ทางธรรมชาติของอิหร่านระบุว่า อิหร่านจัดเป็นประเทศในภูมิภาคร้อนแห้งของโลก ปริมาณฝนตกในแต่ละปีค่อนข้างน้อย ส่วนแบ่งทรัพยากรน้ำของโลกน้อยกว่าร้อยละ 1 และมีปริมาณแหล่งน้ำใต้ดินร้อยละ 61.5 โดยปริมาณ
ความต้องการใช้น้ำในประเทศของประชากรอยู่ที่ 82 ล้านคิวบิกเมตร คิดเป็นร้อยละ 90 ของปริมาณน้ำจืดสำรองทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการทรัพยากรธรรมชาติของอิหร่าน ได้พยายามแนะนำให้รัฐบาลประกาศใช้ ข้อบังคับการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าวมาโดยตลอด โดยเสนอให้มีการเพาะปลูกข้าวเฉพาะในจังหวัดที่มีปริมาณน้ำเพียงพอและห้ามการปลูกข้าวในจังหวัดที่มีการขาดแคลนน้ำ เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ต้องการปริมาณน้ำค่อนข้างมาก
ในการเพาะปลูก เฉลี่ยที่ประมาณเฮกเตอร์ (6.25 ไร่) ละ 13,000–17,000 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งการปลูกข้าวในพื้นที่
ร้อนแห้งและขาดแคลนน้ำจะสร้างปัญหาและส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ของประเทศ ด้วยเหตุนี้
ในปีงบประมาณ 2564 ซึ่งเป็นปีงบประมาณใหม่ของอิหร่าน (21 มีนาคม 2564 – 20 มีนาคม 2565) รัฐบาลจึงยกเลิกประกาศการจำกัดพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เนื่องจากมีปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอต่อการเพาะปลูก ซึ่งจำนวนพื้นที่ที่จะอนุญาตให้เพาะปลูกอยู่ในดุลพินิจของศูนย์บริหารจัดการน้ำของจังหวัดนั้นๆ เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบ
สถานการณ์ข้าวในปัจจุบัน ชาวอิหร่านมีความเชื่อว่าที่ผลิตได้ในประเทศเป็นข้าวคุณภาพดี เป็นข้าวหอม
ที่หุงสุกแล้วมีเมล็ดร่วนซุย นุ่มลิ้น ซึ่งเป็นรสชาติที่นิยมของชาวอิหร่าน แต่ทว่าข้าวที่ผลิตได้ในประเทศมีราคาสูงมาก
เมื่อเทียบกับข้าวนำเข้า เพราะมีต้นทุนในการผลิตสูง อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา ราคาข้าวในตลาดอิหร่านมีการขยายตัวสูงมาโดยตลอด เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและผลผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ทั้งนี้ ชาวอิหร่านจะมีความต้องการบริโภคข้าวเพิ่มมากขึ้นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่และเทศกาลถือศีลอด คือช่วงระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคมของทุกปี ซึ่งข้าวถือเป็นอาหารหลักที่ชาวอิหรานนิยมบริโภคมากรองจากขาวสาลี ดังนั้น
เพื่ออุดหนุนและช่วยเหลือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย รัฐบาลมีความจำเป็นต้องนำเข้าข้าวราคาถูกจากต่างประเทศ
พร้อมกระจายให้กับกลุ่มผู้บริโภคที่มีรายได้น้อยและรายได้ปานกลาง ซึ่งถือเป็นการรักษาสมดุลด้านปริมาณและราคาข้าวในตลาดอีกทางหนึ่งด้วย
จากการสำรวจตลาดขายปลีกและห้างสรรพสินค้าในกรุงเตหะราน ของสำนักงานฯ พบว่า ปัจจุบันมีข้าวบรรจุถุงของไทย (ข้าวขาว 100% เกรด B) ขนาดถุงละ 10 กิโลกรัม วางขายในตลาดราคาถุงละ 1,250,000 เรียล (ประมาณ 913 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารกลางอิหร่าน วันที่ 13 มีนาคม 2564 ที่ อัตรา 100 บาท = 136,762 เรียล) ซึ่งทั้งหมดเป็นข้าวที่นำเข้าเพื่อรักษาสมดุลด้านปริมาณและราคา จึงมีการเขียนข้อความบนบรรจุภัณฑ์ว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ในการควบคุมสมดุลในตลาดเท่านั้น” โดยข้าวเหล่านี้นำเข้าโดยหน่วยงาน Government Trading Corporation หรือที่รู้จักกันในนามว่าหน่วยงาน GTC ของอิหร่าน ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเกษตร จีฮัด (Ministry of Agriculture Jihad) ซึ่งมีอำนาจในการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภค
ที่จำเป็นและขาดแคลนของอิหร่าน รวมทั้งอำนาจในการวางแผนตารางเวลานำเข้าและจัดซื้อสินค้าแต่ละชนิดที่จำเป็นในแต่ละปี โดยคำนึงถึงปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก ในแต่ละปี GTC อาจดำเนินการนำเข้าสินค้าเอง หรือแต่งตั้ง/มอบหมายตัวแทนภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการแทน พร้อมกระจายสินค้าไปยังร้านค้าปลีกทั่วประเทศ โดยสินค้า
ที่อยู่ภายใต้ความรับชอบของ GTC ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าควบคุมปริมาณและราคา ได้แก่ แป้งสาลี ข้าว น้ำตาล ไก่สด/แช่แข็ง นมผงสำหรับเด็กทารก กระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือเรียน เป็นต้น ทั้งนี้ ข้าวไทยบรรจุถุงดังกล่าวสามารถซื้อหาได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปทุกสาขา เช่น ห้าง Shahrvand ห้าง Refah ห้าง Chanbo และห้าง Ofoq Kourosh
เป็นต้น
บทสรุป/ข้อคิดเห็น
อิหร่านมีความต้องการบริโภคข้าวปีละประมาณ 3.2 ล้านตัน ขณะที่ในแต่ละปีผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณสูงสุดไม่เกิน 2.2 ล้านตัน ดังนั้น การประกาศลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวในช่วงปี 2561-2563 จึงทำให้ปริมาณข้าวที่ผลิตได้ในประเทศลดน้อยลงไปอีก ความจำเป็นในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศจึงสูงเป็นประวัติการณ์ โดยในช่วงปี 2562-2563 มีการคาดการณ์ว่าอิหร่านนำเข้าข้าวสูงถึงปีละประมาณ 1.5 ล้านตัน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 50 เป็นการนำเข้าข้าวบาสมาติจากอินเดีย การยกเลิกค้าสั่งจำกัดพื้นที่เพาะปลูกข้าวในปีนี้ จึงเป็นอีกหนึ่งความพยายามของรัฐบาลอิหร่านที่ต้องการผลักดันการเพิ่มผลผลิตข้าวภายในประเทศ ท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่เป็นใจ โดยตั้งความหวังไว้ว่าพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศที่มีอยู่จำนวน 840,000 เฮกตาร์ จะถูกใช้ประโยชน์สูงสุดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม กว่าที่
การเพาะปลูกในฤดูกาลผลิตปี 2564 จะให้ผลผลิต อิหร่านยังมีความจำเป็นในการนำเข้าข้าวจากต่างประเทศอีก
เป็นจำนวนมากเพื่อรักษาสมดุลภายในประเทศและความมั่นคงด้านอาหาร โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณสูงถึง 1 ล้านตัน (เป็นปริมาณคงค้างที่ไม่สามารถนำเข้าได้ จากปัญหาขาดแคลนเงินสำรองในธนาคารอินเดีย 2 แห่ง ที่อิหร่านใช้
ในการจ่ายค่าข้าวจากอินเดียแบบหักบัญชี+ความต้องการในช่วงเทศกาลสำคัญ) โดยเริ่มนำเข้าจากเดือนมีนาคม- กรกฎาคม 2564 ก่อนจะห้ามน้าเข้าชั่วคราว ในช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตในประเทศระหว่างเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน 2564
อย่างไรก็ตาม ก่อนการคว่ำบาตรรอบล่าสุดภาคเอกชนอิหร่านได้นำเข้าข้าวหอมมะลิของไทยไปจำหน่าย
ในอิหร่านในปริมาณค่อนข้างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติและรสชาติที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมของอิหร่าน ทำให้เป็นที่นิยมของผู้บริโภคพอสมควร แต่ด้วยสาเหตุที่ข้าวหอมมะลิมีราคาค่อนข้างแพง ประกอบกับผู้บริโภคอิหร่านยังไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างข้าวหอมมะลิกับข้าวขาวของไทย รัฐบาลอิหร่านโดยหน่วยงาน GTC จึงเลือกที่จะนำเข้าข้าวขาวธรรมดาแทน ทำให้หลังการคว่ำบาตรเป็นต้นมา ข้าวขาวร้อยเปอร์เซ็นต์จะเป็นข้าวที่อิหร่านนำเข้าจากไทย
มากที่สุด และปี 2564 นี้ นับเป็นปีแรกที่ผู้บริโภคอิหร่านสามารถหาซื้อข้าวไทยได้ในห้างสรรพสินค้าทั่วไป ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่สามารถซื้อหาได้ง่ายในกรุงเตหะราน จะมีวางขายเฉพาะในร้านค้าสหกรณ์ของรัฐตามต่างจังหวัด หรือสั่งซื้อตามร้านค้าออนไลน์เท่านั้น
ที่มา: กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.22 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.49 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.40 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.44
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  9.28 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.33 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.68
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 307.00 ดอลลาร์สหรัฐ (9,405.10 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 311.60 ดอลลาร์สหรัฐ (9,486 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 80.90 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2563/64 มีปริมาณ 1,151.77 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,134.62 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 1.51 โดยจีน อาร์เจนตินา เวียดนาม รัสเซีย บราซิล แคนาดา ไนจีเรีย เม็กซิโก อินโดนีเซีย อินเดีย และแอฟริกาใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลกมี 185.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 175.03 ล้านตัน ในปี 2562/63 ร้อยละ 5.76 โดย สหรัฐอเมริกา บราซิล เซอร์เบีย ปารากวัย แอฟริกาใต้ และอินเดีย ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น  อิหร่าน บราซิล โคลอมเบีย คอสตาริก้า โมร็อกโก  เปรู มาเลเซีย  จีน ชิลี สาธารณรัฐโดมินิกัน อิสราเอล กัวเตมาลา และแอลจีเรีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2564 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน  ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 557.60 เซนต์ (6,818.79 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 555.76 เซนต์(6,711.20 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 107.59 บาท



 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2564 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 – กันยายน 2564) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.163 ล้านไร่ ผลผลิต 30.108 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 3.286 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.918 ล้านไร่ ผลผลิต 28.999 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.252 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.75 ร้อยละ 3.82 และร้อยละ 1.05 ตามลำดับ โดยเดือนมีนาคม 2564 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.74 ล้านตัน (ร้อยละ 22.39 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2564 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2564 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 61.13 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ความต้องการใช้หัวมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมันเส้น ส่งผลให้ราคาหัวมันสำปะหลังสดอยู่ในเกณฑ์สูงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.12 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.97
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.95 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.88 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.19
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.09 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.07 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.28
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 13.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 13.69 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.44
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 263 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,025 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,018 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลังสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,739 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (14,725 บาทต่อตัน)

 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2564 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.438 
ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.259 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.015 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183  ล้านตัน ของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 41.67 และร้อยละ 41.53 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.49 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.78 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.02                                              
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 34.85 บาท ลดลงจาก กก.ละ 35.73 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.46      
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ในเดือนเมษายน มาเลเซียยังคงภาษีส่งออกน้ำมันปาล์มดิบสูงสุดที่ร้อยละ 8 ในระดับราคาที่สูงกว่าตันละ 3,450 ริงกิต แต่ราคาอ้างอิงเพิ่มขึ้นจากตันละ 3,977.36 ริงกิต ในเดือนมีนาคม เป็นตันละ 4,331.48 ริงกิต ในเดือนเมษายน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,150.60 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.49 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 4,124.39 ดอลลาร์มาเลเซีย (31.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.64    
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,160.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.89 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,140.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.75
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
         
          ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวการณ์ผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
          สมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดียรายงานว่า โรงงานน้ำตาลของอินเดียได้ลงนามในสัญญาเพื่อส่งออกน้ำตาล 4.3 ล้านตัน ในขณะที่ส่งออกไปแล้ว 2.2 ล้านตัน Traders กล่าวว่า โรงงานกำลังใช้ประโยชน์จากราคาโลกที่เพิ่มขึ้น และการส่งออกส่วนใหญ่ไปยังอินโดนีเซีย ดูไบ อัฟกานิสถาน ศรีลังกา และประเทศในแอฟริกา ขณะเดียวกันตามข้อมูลของ ISMA ณ วันที่ 15 มีนาคม อินเดียผลิตน้ำตาลได้ 25.868 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 19.69% ขณะนี้โรงงานน้ำตาล 171 โรงงานปิดหีบแล้วเทียบกับ 138 โรงงานในเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว แม้ว่าโรงงานน้ำตาล 331 โรงงานยังคงหีบอ้อยอยู่เมื่อเทียบกับ 319 โรงงานในปีที่แล้ว




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 17.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.79 บาท ในสัปดาห์สัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 13.11
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ  
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,413.60 เซนต์ (16.07 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,424.24 เซนต์ (16.15 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.75
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 404.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.53 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 409.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.05
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 54.43 เซนต์ (37.12 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 55.58 เซนต์ (37.82 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.07

 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.20 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.83
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,148.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.05 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,152.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.08 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,049.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.03 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,053.00 ดอลลาร์สหรัฐ (32.05 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,214.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.06 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 1,218.60 ดอลลาร์สหรัฐ (37.10 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 884.60 ดอลลาร์สหรัฐ (26.99 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตัน 887.40 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,241.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.87 บาท/กิโลกรัม) ลดลงจากตันละ 1,245.20 ดอลลาร์สหรัฐ (37.91 บาท/กิโลกรัม) สัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32 และลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.67 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.35
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.94 บาท ลดลงจากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.99 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2564 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 86.06 เซนต์(กิโลกรัมละ 58.71 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 86.75 เซนต์ (กิโลกรัม 59.05 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.34 บาท)


 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,819 บาท ลดลงจาก 1,878 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.14 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,819 บาท ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,489 บาท ลดลงจาก 1, 539 บาทของสัปดาห์ที่ผ่านมา คิดเป็นร้อยละ 3.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,489 บาทส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ไม่มีรายงาน
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 944 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์  


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  76.07 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.93 คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 73.84 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.88 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 77.72 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.00 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.50 บาท ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย จากสัปดาห์ที่ผ่าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.58 บาท ลดลงจาก กิโลกรัมละ 34.73 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.43 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 10.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 9.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท สูงขึ้นจาก เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.07 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 274 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 275 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.36 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 303 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 283 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 263 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 250 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 342 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 359 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 315 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 363 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 305 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.85 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.23 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.21 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.89 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 91.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.43 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 76.72 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.15 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.65 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 74.18 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา 

 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 15 – 21 มีนาคม 2564) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 75.73 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.81 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 150.14 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 4.74 บาท
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ราคาเฉลี่ยสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 146.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.84 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.53 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 71.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.09 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.46 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.34 บาท
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท
และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท